วันที่ 9 มีนาคม 2566 องค์การอนามัยโลกได้เปิดตัวรายงาน Global report on sodium intake reduction (รายงานเรื่องการลดการบริโภคโซเดียมในระดับโลก) ซึ่งรายงานได้เปิดเผยว่า
- ประเทศต่างๆ ในโลกอาจจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการบริโภคโซเดียมลงร้อยละ 30 ภายในปี 2568
- ในปัจจุบัน มีเพียงร้อยละ 5 ของประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกที่มีการบังคับใช้นโยบายที่คุ้มทุนและมีประสิทธิภาพในการลดการบริโภคโซเดียม
- หากทุกประเทศมีการดำเนินนโยบายที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพในการลดการบริโภคโซเดียมในระดับประชากรจะลดการเสียชีวิตของประชากรโลกได้มากถึงประมาณ 7 ล้านคน ภายในปี 2573
- การลดการบริโภคโซเดียมเป็นการดำเนินงานที่สำคัญที่จะช่วยให้ทุกประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะลดการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
- แต่ในปัจจุบัน มีเพียง 9 ประเทศ (บราซิล ชิลี สาธารณรัฐเช็ก ลิธัวเนีย มาเลยเซีย เม็กซิโก ซาอุดีอาระเบีย สเปน และอุรุกวัย) เท่านั้นมีมีการบังคับใช้นโยบายที่ครอบคลุมในการลดการบริโภคโซเดียมตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ
นโยบายที่ครอบคลุมในการลดการบริโภคโซเดียมในระดับประชากร นั้นหมายรวมถึงการบังคับใช้นโยบายและ WHO best buy (มาตรการที่มีความคุ้มค่า) ทั้ง 4 มาตรการ ซึ่งจะช่วยลดการบริโภคโซเดียมและป้องกันโรคไม่ติดต่อของประชากร
- การปรับสูตรอาหารให้ลดปริมาณโซเดียม และตั้งเป้าหรือเพดานเพื่อควบคุมปริมาณโซเดียมในอาหาร
- การดำเนินนโยบายจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐเพื่อจำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร หรืออาหารที่มีโซเดียมสูงในสถานที่ของรัฐ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานที่ทำงาน และสถานเลี้ยงเด็ก เป็นต้น
- การดำเนินนโยบายฉลากโภชนาการหน้าบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้ออาหารที่มีโซเดียมต่ำได้
- การทำการสื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรณรงค์สาธารณะเพื่อลดการบริโภคโซเดียมในประชากร
องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ประเทศพัฒนาเพดานของปริมาณโซเดียมในอาหารแปรรูป ตามแนวทางของ WHO Global Sodium Benchmark และบังคับใช้อย่างเข้มแข็ง
- การบังคับใช้นโยบายและมาตรการเพื่อลดการบริโภคโซเดียมนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินมาตรการแบบสมัครใจ เนื่องจากจะมีความครอบคลุมมากกว่า และปกป้องประชาชนจากการแสวงหากำไรของภาคธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมของภาคอุตสาหกรรมอาหาร
- รายงานฉบับนี้ยังได้นำเสนอ Sodium country scorecard Sodium Country Score Card | Global database on the Implementation of Nutrition Action (GINA) (who.int) ซึ่งเป็นการให้คะแนนประเทศตามจำนวนของมาตรการลดโซเดียมที่มีการดำเนินงานและบังคับใช้ ระดับของคะแนนคือ 1-4 ซึ่งประเทศไทยได้ 3 คะแนน เนื่องจากมีการบังคับใช้การแสดงปริมาณโซเดียมหน้าบรรจุภัณฑ์อาหารบรรจุภาชนะพร้อมจำหน่าย ในขณะที่ 9 ประเทศข้างต้นที่ได้ 4 คะแนน คือประเทศที่มีการบังคับใช้มาตรการลดการบริโภคโซเดียมหลายมาตรการ และมีการดำเนินงาน WHO Best buy ครบทั้ง 4 มาตรการ